เชื้อไวรัสเอชพีวี (Human Papilloma Virus – HPV) เป็นไวรัสที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์ นำไปสู่การเกิดมะเร็งต่าง ๆ เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอดและปากช่องคลอด มะเร็งทวารหนัก มะเร็งอวัยวะเพศชาย มะเร็งช่องปากและลำคอ รวมถึงหูดหงอนไก่ เชื้อ HPV มีมากกว่า 200 สายพันธุ์ แต่ไม่ใช่ทุกสายพันธุ์ที่ก่อโรค ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย 8 ใน 10 คนมีโอกาสรับเชื้อในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต ผ่านการสัมผัสทางเพศสัมพันธ์ (ทั้งแบบสอดใส่และไม่สอดใส่) เมื่ออายุมากขึ้น โอกาสรับเชื้อ HPV ก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ทำให้กำจัดเชื้อได้น้อยลง และเสี่ยงต่อการเกิดโรคจาก HPV มากขึ้น
วัคซีน HPV มีกี่ชนิด และต่างกันอย่างไร?
วัคซีน HPV เป็นการฉีดสารสังเคราะห์ที่เลียนแบบเชื้อสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูงและพบบ่อยในการก่อมะเร็ง เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อเหล่านั้น ปัจจุบันมีวัคซีน HPV 3 ชนิด ดังนี้:
- วัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์: ป้องกัน HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งได้ 70%
- วัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์: ป้องกัน HPV สายพันธุ์ 6, 11, 16 และ 18 มีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งได้ 70% และป้องกันหูดหงอนไก่
- วัคซีนชนิด 9 สายพันธุ์ ***: ป้องกัน HPV สายพันธุ์ 6, 11, 16, 18, 31, 33, 45, 52 และ 58 มีประสิทธิภาพในการป้องกันมะเร็งได้ 90-94% และป้องกันหูดหงอนไก่


ใครควรฉีดวัคซีน และควรเริ่มฉีดเมื่อไหร่?
แนะนำให้ทุกคนทั้งผู้หญิงและผู้ชายฉีดวัคซีน HPV โดยสามารถเริ่มฉีดได้ตั้งแต่อายุ 9 ถึง 45 ปี ประสิทธิภาพสูงสุดจะได้รับหากฉีดก่อนมีเพศสัมพันธ์หรือก่อนการรับเชื้อ วัคซีนจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูงสุดหลังฉีดเข็มสุดท้าย 4 สัปดาห์
- อายุ 9-15 ปี: แนะนำให้ฉีด 2 เข็ม โดยเข็มที่สองห่างจากเข็มแรก 6-12 เดือน ในช่วงอายุนี้ ร่างกายตอบสนองต่อการสร้างภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้ดีกว่าผู้ใหญ่
- อายุ 15 ปีขึ้นไป: แนะนำให้ฉีด 3 เข็ม โดยฉีดที่ระยะห่าง 0, 2 และ 6 เดือน
จำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกก่อนฉีดวัคซีนหรือไม่?
ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือตรวจหาเชื้อ HPV ก่อนฉีดวัคซีน เนื่องจากเชื้อที่พบอาจไม่ได้ก่อโรค อย่างไรก็ตาม หลังฉีดวัคซีนแล้ว ยังจำเป็นต้องตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การป้องกันมีประสิทธิภาพสูงสุด
หากติดเชื้อ HPV แล้ว สามารถฉีดวัคซีนได้หรือไม่?
แนะนำให้ฉีดวัคซีนแม้จะเคยติดเชื้อ HPV แล้ว เนื่องจากร่างกายสามารถกำจัดเชื้อออกไปได้ใน 1-2 ปี ทำให้มีโอกาสรับเชื้อชนิดเดิมได้อีก นอกจากนี้ ไวรัส HPV มีหลายสายพันธุ์ที่ก่อโรค การฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันสายพันธุ์ที่ยังไม่ได้รับ
วัคซีนมีประสิทธิภาพนานแค่ไหน? จำเป็นต้องฉีดกระตุ้นหรือไม่?
งานวิจัยพบว่าภูมิคุ้มกันที่สร้างจากการได้รับวัคซีนครบคอร์สมีประสิทธิภาพป้องกันโรคได้นานกว่า 10-20 ปี ปัจจุบันยังไม่มีคำแนะนำให้ฉีดกระตุ้นซ้ำ ดังนั้น การฉีดวัคซีนเพียงครั้งเดียวสามารถป้องกันได้ตลอดชีวิต
หากเคยฉีดวัคซีน HPV 2 หรือ 4 สายพันธุ์มาแล้ว สามารถฉีดวัคซีน 9 สายพันธุ์ได้หรือไม่?
สามารถฉีดวัคซีน 9 สายพันธุ์ได้ โดยจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้อง
ผู้ชายควรฉีดวัคซีน HPV หรือไม่?
แนะนำให้ผู้ชายฉีดวัคซีน HPV เช่นเดียวกับผู้หญิง เนื่องจากเชื้อไวรัส HPV สามารถติดต่อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ และอาจนำไปสู่โรคต่างๆ เช่น
- หูดหงอนไก่
- มะเร็งทวารหนัก
- มะเร็งอวัยวะเพศชาย
- มะเร็งช่องปากและลำคอ
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีคัดกรองมะเร็งจาก HPV ในผู้ชายโดยเฉพาะ และการใช้ถุงยางอนามัยสามารถลดความเสี่ยงได้เพียงประมาณ 60% เท่านั้น ทำให้หลายกรณีตรวจพบเมื่อโรคพัฒนาไปถึงระยะลุกลามแล้ว การฉีดวัคซีนจึงเป็นวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ไม่เพียงแต่ลดโอกาสเกิดโรคในตัวเอง แต่ยังช่วยลดการแพร่เชื้อไปสู่คู่นอนอีกด้วย วัคซีนที่แนะนำสำหรับผู้ชาย ได้แก่ ชนิด 4 สายพันธุ์ หรือ 9 สายพันธุ์
สรุป
มะเร็งปากมดลูกสามารถป้องกันได้!
การฉีดวัคซีน HPV ควบคู่กับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- แนะนำให้ทุกคน ทั้ง ผู้หญิงและผู้ชาย ฉีดวัคซีน HPV
- ควรเริ่มฉีดตั้งแต่อายุ 9 ปีขึ้นไป และจะให้ผลดีที่สุดหากได้รับวัคซีนครบก่อนสัมผัสเชื้อ
สำหรับผู้ที่ตรวจพบว่าติดเชื้อ HPV หรือมีรอยโรคที่ปากมดลูกในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ยังสามารถฉีดวัคซีนได้*** วัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อซ้ำและป้องกันสายพันธุ์อื่นๆ ที่ยังไม่เคยได้รับมาก่อน
คลินิกหมอรุจิเรข
โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสูติ-นารีเวช
มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปี
มีเครื่องมือที่ทันสมัย รองรับบริการให้กับลูกค้า
75
Locations worldwide
3570
Employees
28
Years experience
950
Unique Units
ติดต่อเรา
96/43 ถ.พระภูเก็ตแก้ว(สี่แยกโลตัสบายพาส) ต.กะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต 83120
Tel: +66 88 751 4994
Email: rujirekclinic@gmail.com
+66 88 751 4994
Rujirek Clinic
Rujirek Clinic
Opening Hours
จ - ศ : 13.00 - 20.00